ทำไมต้องวางแผนการเงิน ตอนที่ 4 แผนการเงิน โดยใคร

ทำไมต้องวางแผนการเงิน ตอนที่ 4 แผนการเงิน โดยใคร

   ทำไมต้องวางแผนการเงิน ตอนที่ 4 แผนการเงิน โดยใคร


ตอนที่ 1. ทำไมต้องวางแผนการเงิน ตอนที่1 แผนการเงินคืออะไร

ตอนที่ 2. ทำไมต้องวางแผนการเงิน ตอนที่2 แผนการเงิน ต้องทำเมื่อไหร่

ตอนที่ 3. ทำไมต้องวางแผนการเงิน ตอนที่3 แผนการเงิน เพื่อใคร

_____________________________________________________________________________________________________


     หากคุณเชื่อว่าแผนการเงิน จะช่วยคุณในฐานะ แผนที่ชีวิต เชื่อว่าคุณต้องวางแผนการเงิน
ทันทีที่คุณมีเป้าหมายทางการเงิน และเชื่อว่าหากคุณรักใครสักคนมากพอ คุณจะวางแผนการเงิน 
เพื่อเขาคนนั้น ขอให้คุณอ่านต่อไป

     
ตอนนี้ในใจคุณคงเริ่มอยากถามใช่ไหมครับว่า แล้วใครจะเป็นคนมาวางแผนการเงินให้กับคุณ
ขอตอบง่ายๆแบบไม่ได้กวนสักนิดเลยนะครับ คนที่จะวางแผนการเงินให้คุณ อาจจะเป็นใครก็ได้
ใช่เลย!!! อ่านไม่ผิดหรอกครับ

ากคุณยังคงจำตอนที่ 1-3 ที่ผ่านมาแล้วได้ ลองตอบคำถาม 3 ข้อนี้กันนะครับ
     1. ใครเป็นผู้กำหนดว่า เป้าหมายชีวิตคุณ คืออะไร ?
     
2. ใครเป็นผู้กำหนดว่า คุณจะมีเป้าหมาย เมื่อไหร่ ?
     
3. ใครเป็นผู้กำหนดว่า คุณอยากจะทำ เพื่อใคร ?

เชื่อเหลือเกิน ว่าคนส่วนใหญ่ รวมถึงคุณ จะตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า “ตัวเอง” ถ้าคุณก็ตอบแบบเดียวกัน นี่คือเหตุผลที่ส่วนมากแล้ว คนแรกที่เริ่มวางแผนการเงินให้กับคุณได้ ก็คือ ตัวคุณเอง

     
เพราะ ไม่มีใครรู้เรื่องราวต่างๆในชีวิต ในความคิด ในจิตใจ ของคุณมากไปกว่าตัวคุณเอง และคนที่จะวางแผนการเงินให้คุณ ตามหลักการเบื้องต้นของผู้เขียนแล้ว คือ คนที่จะพาคุณไปถึงเป้าหมายทางการเงินได้
ถ้าลองอธิบายเปรียบเทียบเป็นขั้นเป็นตอนก็คือ
คนที่รู้ว่า
          
1. ปัจจุบัน คุณยืนอยู่ที่ไหน (มีเงินอยู่แล้วเท่าไหร่)
        
2. อนาคต คุณอยากไปยืนอยู่ที่ไหน (อยากมีเงินเท่าไหร่ และเมื่อไหร่)
        
3. ระหว่างทาง คุณควรเดินไปทางไหน อย่างไร (ต้องทำอะไรบ้าง)

ตัวอย่าง
         
คุณยอดชาย มนุษย์เงินเดือน อายุ 35 ปี เงินเดือน 50,000 บาท มีเงิน
เก็บในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ 500,000 บาท สมรสแล้ว มีบ้าน มีรถ และอยาก
มีลูก 1 คน มีเป้าหมายที่คิดไว้ คือ มีเงินใช้ตอนเกษียณ ไปจนตลอดชีวิต
วางแผนว่าจะออมเงินเข้าบัญชีต่อไปเรื่อยๆจนเกษียณ แล้วนำเงินนั้นมาใช้จนสิ้นอายุขัยพอดี

         
คุณยอดชาย ตอบว่า รู้ครบทั้ง 3 ข้อแล้ว
         
1. มีเงิน 500,000 บาท เงินเดือน 50,000/เดือน
        
 2. เงินฝากที่เพิ่มขึ้น จนถึงวันเกษียณ คงพอดีๆ
         
3. ฝากเงินในบัญชีออมทรัพย์ไปเรื่อยๆ

         
ตึง!!! ความยากที่แท้จริง เริ่มเกิดขึ้นตรงนี้ล่ะครับ เพราะคนส่วนมาก
รู้ในมุมมองของตัวเอง เพียงด้านเดียว แต่ชอบตอบตัวเองว่า “รู้หมดแล้ว”
คุณยอดชายรู้ครบ 3 ข้อจริงๆ แต่ถ้าถามหาความครบถ้วนและถูกต้อง ต้องตอบว่า
เบื้องต้นยังขาดอีกหลายประเด็น ลองคิดตามไปนะครับ
         
- มีรายรับอื่นหรือไม่ รายได้เติบโตปีละเท่าไหร่
         
- ภรรยามีรายได้และอายุงานคงเหลือ เท่าไหร่
         
- อายุเกษียณ 60 หรือไม่ อายุขัย 80 หรือ 90 หรือ 100 ปี
         
- เงินบำนาญชราภาพ จากประกันสังคม ประมาณ 7,500 บาทต่อเดือน
         - เงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
 ซึ่งอาจจะมีแต่ไม่ได้เอ่ยถึง
        
 - หนี้สินจากบ้าน/รถ ยังมีภาระผ่อนหรือไม่ เท่าไหร่
        
 - อยากมีลูก จะมีเมื่อไหร่ ค่าคลอด ค่าเลี้ยงดู ค่าเล่าเรียน เท่าไหร่พอ
        
 - หากเจ็บป่วย หรือ อุบัติเหตุร้ายแรง สวัสดิการพอหรือไม่
        
 - หากจากไปก่อนวัยอันควร ภรรยาสามารถอยู่ต่อได้อย่างดีหรือไม่
         
- หากอายุยืนกว่าที่คาดไว้ มีเงินสำรองมากพอหรือไม่
        
 - หากระหว่างทางก่อนเกษียณ มีเหตุใช้เงินฉุกเฉิน จะเหลือเงินพอไหม
        
 - หากดอกเบี้ยเงินฝากน้อยลง เป็นศูนย์ หรือติดลบ ทำอย่างไรดี

         
ที่กล่าวมา เป็นเพียงบางส่วนของสิ่งที่ต้องคิดและตอบ สำหรับการวางแผนการเงิน
ให้แก่คุณยอดชาย ยังมีอีกหลายประเด็นที่ยังไม่ได้เอ่ยถึง ทีนี้ต่อคำถามที่ว่า แผนการเงิน โดยใคร นั้น ขอตอบอีกครั้งว่า โดย ตัวคุณเอง และสำหรับคนส่วนมากอาจจะจำเป็นต้องมีผู้ช่วยในการวางแผนการเงินครับ ซึ่งเลือกได้ตามความชอบใจ และความเหมาะสม ว่าจะเลือกใครมาเป็นผู้ช่วย ตามที่เคยกล่าวไว้ว่าคนที่จะวางแผนการเงินให้คุณ ตามหลักการเบื้องต้นของผู้เขียนแล้ว คือ คนที่จะพาคุณไปถึงเป้าหมายทางการเงินได้

         
แต่…ถ้าคุณต้องการมากกว่านั้น หากคุณต้องการความครบถ้วน และถูกต้อง ขอแนะนำ 
ผู้ประกอบวิชาชีพวางแผนการเงิน” ที่ได้รับการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ จากสมาคมนักวางแผนการเงินไทย" ดังนี้

     
 1. นักวางแผนการเงิน CFP® (Certified Financial Planner)
มีหน้าที่ให้คำแนะนำและวางแผนการเงินส่วนบุคคลที่ครอบคลุมครบทุกด้าน ได้แก่ การวางแผนการบริหารเงินสด การวางแผนการลงทุน การวางแผนการประกันชีวิต การวางแผนเพื่อวัยเกษียณ การวางแผนภาษีและมรดก และการวางแผนการเงินเพื่อเป้าหมายเฉพาะ

     
2. ที่ปรึกษาการเงิน AFPT™ (Associate Financial Planner Thailand)
มีหน้าที่ให้คำแนะนำและคำปรึกษาที่เกี่ยวข้องกับด้านการวางแผนการลงทุน และ/หรือด้านการวางแผนการประกันชีวิตและการวางแผนเพื่อวัยเกษียณ


      
ขอบคุณข้อมูล : http://www.tfpa.or.th เว็บไซต์สมาคมนักวางแผนการเงินไทย

               
 เมื่อคุณรู้แล้วว่า แผนการเงิน ทำโดยใคร โปรดติดตามตอนต่อไป
     
ได้ใน … ทำไมต้องวางแผนการเงิน ตอนที่ 5 แผนการเงิน ทำอย่างไร

 

Chaiwat Pattanapaiboon , CFP®
นักวางแผนการเงิน