ทำไงดีเมื่อดอกเบี้ย " ไม่พอกิน ไม่พอใช้ "

ทำไงดีเมื่อดอกเบี้ย " ไม่พอกิน ไม่พอใช้ "

    รุ่นคุณพ่อ คุณแม่ คุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย จะทันกับยุคอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก 2 หลัก ช่วงนั้นดอกผลมีมากพอใช้ในชีวิตประจำวัน แต่หลายๆ ท่านที่เกิดในยุค 10 ปีที่ผ่านมาเห็นเลยว่าการมีเงินฝากมากๆ เพื่อรับรายได้จากดอกเบี้ยนั้นเป็นเช่นไร

       ในยุคที่เงินทองเป็นปัจจัยที่สำคัญในการดำเนินชีวิต นอกจาก “หามา กินใช้ ” แล้ว ต้องรู้จักเก็บออมเอาไว้สำหรับวันข้างหน้าด้วยนะคะ

       ดังนั้นเราควรเลือกเก็บออมก่อนใช้จ่าย โดยเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่ทำให้เงินนั้นงอกเงยและชนะเงินเฟ้ออีกด้วย

       แล้วเราควรบริหารเงินอย่างไรดีล่ะ? ที่จะทำให้เงินของเราชนะเงินเฟ้อได้ ซึ่งการออมเงินในธนาคาร ไม่ใช่ทางเลือกของเราแน่นอน เพราะดอกเบี้ยที่ได้รับน้อยมาก ไม่เพียงพอที่จะชดเชยอัตราเงินเฟ้อ แล้วอะไรล่ะคะที่เป็นสิ่งที่ตอบโจทย์เรามากที่สุดในยุคนี้...

 

คำตอบ คือ "กองทุนรวม"

     

  ซึ่งกองทุนรวมที่ว่านี้ก็ถือเป็นการลงทุนในรูปแบบหนึ่ง

เหมาะกับนักลงทุนที่มีคุณสมบัติดังนี้

  • ต้องการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความหลากหลาย เพื่อลดความเสี่ยง และมีเงินทุนจำกัดไม่สามารถกระจายการลงทุนในสินทรัพย์หลายประเภท
  • ไม่มีประสบการณ์ ความรู้ ความชำนาญในการลงทุน
  • ไม่มีเวลาศึกษา ค้นหา และติดตามข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินในการลงทุน

 

           กองทุนรวม คือ การลงทุนที่ระดมเงินจากผู้ลงทุนหรือผู้มีเงินออมของหลายๆรายมารวมกันให้เป็นเงินก้อนใหญ่เพื่อนำไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ เช่น หุ้นสามัญ พันธบัตร หุ้นกู้ ฯลฯ โดยมีผู้จัดการกองทุนที่มีความรู้และประสบการณ์ทำหน้าที่บริหารเงินลงทุนช่วยให้นักลงทุนวางใจได้ว่ากองทุนนั้นจะได้รับการดูแลที่ดีและมีผลตอบแทนที่เหมาะสม

          ปัจจุบันกองทุนรวมมีตัวเลือกมากมายและมีความหลากหลายในแง่ของนโยบายการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ซึ่งความหลากหลายในสินทรัพย์ในกองทุนรวมสามารถตอบโจทย์เป้าหมายการลงทุนในแง่ของระดับความเสี่ยงที่แตกต่างกัน ซึ่งมีความสัมพันธ์กับผลตอบแทนที่คาดหวัง

          สำหรับท่านที่ไม่ทราบว่าควรจะเริ่มต้นอย่างไรดี ก่อนการลงทุนต้องดู 3 เรื่องที่สำคัญดังต่อไปนี้ค่ะ

  1. นโยบายการลงทุน
  2. ผลตอบแทนที่ผ่านมา
  3. ประเมินการยอมรับความเสี่ยง

      

สำหรับรายละเอียดในแต่ละข้อ ขอเล่าให้ฟังในบทความต่อไปนะคะ แล้วอย่าลืมติดตามกันนะคะ


 

“ไม่สำคัญว่าคุณเริ่มต้นออมที่เงินจำนวนเท่าไร...แต่สิ่งที่สำคัญกว่า คือ วันนี้คุณเริ่มออมเงินแล้วหรือยัง และทำสม่ำเสมอหรือเปล่า”


ฝากให้ทุกท่านคิดนะคะ ด้วยความห่วงใยจากน้องสุขใจ


WANWIMON,IC

DD-Wealth