พ่อแม่ยุค 4.0 เปิดเทอมใหญ่ไร้กังวล

พ่อแม่ยุค 4.0 เปิดเทอมใหญ่ไร้กังวล


เปิดเทอมใหญ่ไร้กังวล

         สวนดุสิตโพลมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของพ่อแม่ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานในวัยเรียนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,023 คน ระหว่างวันที่ 9-13 พฤษภาคม 2560 สรุปผลได้ ดังนี้
5
อันดับ* ความในใจ/หัวอกของผู้ปกครองเมื่อใกล้เปิดเทอม
อันดับ 1 ต้องหาเงินจ่ายค่าเทอม จำนำ กู้ยืม 77.42%
อันดับ 2 ค่าใช้จ่ายช่วงเปิดเทอมทำให้มีภาระมากขึ้น 75.37%
อันดับ 3 อุปกรณ์การเรียน ชุดนักเรียน มีราคาสูงขึ้น 74.49%
อันดับ 4 การเตรียมพร้อมและการปรับตัวของเด็ก การตื่นนอน 72.14%
อันดับ 5 การเดินทาง การจราจร 69.21%
        
จากข้อมูลจะเห็นได้ว่า ค่าใช้จ่ายเรื่องการศึกษาของลูกในช่วงเปิดเทอมเป็นเรื่องที่จำเป็นและถือเป็นเรื่องใหญ่มาก จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร


ในทุกๆเทอมจะมีข่าวจากสำนักข่าวต่างๆ นำเรื่องภาระค่าใช้จ่าย การจำนำมาเป็นหัวข้อข่าว จริงๆแล้วข้อมูลเหล่านี้ถือเป็นดัชนีชี้วัดเรื่องเศรษฐกิจและสังคมได้เลยว่า ความเป็นอยู่เรื่องปากท้องของประชาชนเป็นอย่างไร

 

ผู้เขียนเคยสอบถามและได้เห็นชาวบ้านครอบครัวหนึ่ง จัดการปัญหาเรื่องนี้ด้วยการเตรียมค่าใช้จ่ายแบบง่ายๆ ตามวิถีชาวบ้าน คือ

1. ค่าใช้จ่ายค่าเทอม ค่าอุปกรณ์การเรียนต่างๆ (EX.เทอมละ 30,000 บาท) 2. ระยะเวลาที่ต้องจ่ายค่าใช้จ่ายเหล่านี้ ประมาณ 5-6 เดือนต่อครั้ง.                     

3. ต้องเก็บเงินเดือนละ (30,000 / 6 เท่ากับ 5,000 บาทต่อเดือน)

    ถ้าคิดเฉลี่ยต่อวันจะได้เท่ากับ 5,000 / 30 เท่ากับ 167 บาทต่อวัน

         ครอบครัวนี้นำเงินหยอดกระปุกทุกวัน นี่คือ วิธีการวางแผนการเงินแบบง่ายๆ ตามวิถีชาวบ้าน ซึ่งไม่ได้ซับซ้อนอะไร มันอาจจะไม่ใช่วิธีการที่ดีที่สุดแต่ก็ใช้ได้ เพียงแต่ .. คนเก็บก็ห้ามหยุดเก็บ !  ไม่ว่าจะขาดรายได้ด้วยสาเหตุใดก็ตาม ไม่เช่นนั้นอนาคตเรื่องการศึกษาของลูกคงสะดุด และอาจไม่เป็นอย่างที่ตั้งใจ

        จริงๆแล้วเรื่องค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการศึกษาของลูก เราสามารถวางแผนได้ โดยมีองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้แผนการศึกษาของลูกสำเร็จตามที่ตั้งใจ คือ การมีเป้าหมายทางการเงิน และกรอบเวลาในแต่ละช่วงที่ชัดเจน เพียงแค่เราต้องเพิ่มองค์ความรู้ในเรื่องการวางแผนการเงิน และเรื่องการลงทุน เพื่อเป็นตัวช่วยในการทำให้เงินของเราได้รับผลตอบแทนสูงที่สุด พร้อมทั้งประหยัดเวลา และถ้าการันตีอนาคตทางการศึกษาได้ก็จะดี ลองดูตารางนี้

นะครับ

สมมุติว่า เราต้องการทุนการศึกษา 1,000,000 บาท สำหรับศึกษาต่อระดับชั้นปริญญาตรี ระยะเวลาที่ต้องการใช้เงิน 18 ปี


สีแดง   ได้เปรียบ   น้อยกว่า

สีฟ้า     ได้เปรียบ   มากกว่า   

สีดำ                     ปานกลาง     


            วันนี้ถ้าเรารู้เรื่องการวางแผนการเงิน หรือการวางแผนการศึกษาของลูก เราก็สามารถนำทางเลือกที่ยกตัวอย่างมานี้ไปใช้ได้ เช่น เราอาจจะเลือกทำประกันแบบสะสมทรัพย์ เพื่อการันตีอนาคตทางการศึกษา ไม่ว่าจะจากเป็น หรือจากตาย ก็มีค่าใช้จ่ายส่วนนี้เตรียมไว้แน่นอน และอาจจะลงทุนผ่านกองทุนรวม ก็จะเป็นวิธีวางแผนการเงินเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่สูงกว่า แต่ใช้เงินน้อยกว่า  ถึงแม้ว่าจะมีความเสี่ยงที่มากกว่าวิธีอื่น แต่ก็สามารถบริหารจัดการได้ เพื่อให้เหมาะสมกับสถานะทางการเงินของครอบครัว สร้างความมั่นคงให้กับอนาคตทางการศึกษาของลูกให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ที่คุณพ่อคุณแม่ได้ตั้งใจไว้ และไม่กระทบกับภาระค่าใช้จ่ายส่วนอื่นๆ

         ผู้เขียนเชื่อเหลือเกินว่า การวางแผนการเงินมีส่วนสำคัญในการเตรียมความพร้อมทางการเงินอย่างรอบคอบ เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด และให้บรรลุเป้าหมายทางการเงิน เพราะต่อจากนี้เวลาเปิดเทอมเราคงไม่ต้องมากังวลเรื่องนี้กันอีกต่อไปนะครับ

 

CR     : สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

         * คัดย่อมา 5 อันดับจาก 10 อันดับ

         : กรุงเทพธุรกิจ

         : มติชนออนไลด์

 

Toy DD

IC