มาเรียนรู้การเกษียณอย่างมีความสุข

มาเรียนรู้การเกษียณอย่างมีความสุข

เกษียณอย่างมีความสุข ควรเตรียมตัวอย่างไร

  เดือนกันยายนของทุกปี สำหรับใครหลายๆคน เริ่มเข้าสู่วัยเกษียณอายุ หรือบางองค์กร ก็จะเกษียณในช่วงสิ้นปี ซึ่งส่วนใหญ่ประเทศไทย เรามักจะมี เกณฑ์ในการเกษียณอยู่ที่อายุ 60 คำถามคือ ชีวิตหลังเกษียณของคุณจะเป็น อย่างไร ??

หลายคนยังมีความสุขกับการทำงาน และยังสนุกกับการใช้ทักษะความ สามารถในการหารายได้ หลายคนก็รู้สึกใจหาย กับการที่จะต้องหยุดทำงาน เพราะกิจวัตรประจำวันที่ไม่เหมือนเดิม แต่สิ่งหนึ่งที่จะต้องยอมรับคือ เมื่อถึง วัยเกษียณ Lifestyle จะเปลี่ยนไป สุขภาพที่เคยเหมือนรถป้ายแดง ก็กลาย เป็นรถมือสอง การทำงานลดลง รายได้ลดลง แต่รายจ่ายบางอย่างเพิ่มขึ้น และท้ายที่สุดถ้าไม่มีการเตรียมตัว หรือเตรียมความพร้อมช่วงเวลาหลัง เกษียณ ชีวิตคงลำบากไม่ใช่น้อย เพราะในขณะที่ต้องดำเนินชีวิตอยู่ ภาระค่า ใช้จ่ายก็ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องเช่นกัน

 

วันนี้เรามาดูกันนะคะว่า .. ชีวิตหลังเกษียณต้องเตรียมอะไรบ้าง ?? กรณีที่เราต้องการเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ และเป็นคนชราที่มีความสุข โดยไม่เดือดร้อนลูกหลาน

สมมุติ ตอนนี้เราอายุ 30 ปี ต้องการเกษียณที่อายุ 60

และคาดหวังใช้ชีวิตหลังเกษียณถึงอายุ 80 (ต้องเตรียมเงินไว้ใช้ 20 ปี)

ที่อัตราเงินเฟ้อ 3%

1.     ค่าใช้จ่ายเรื่องอาหาร  แน่นอนว่ายังคงต้องมีอยู่  แต่อาจจะควบคุมได้ มากขึ้น เนื่องจากต้องระวังเรื่องการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ จึงควรเตรียมค่าใช้จ่ายเรื่องนี้ วันละ 300 บาท

คิดอัตราเงินเฟ้อแล้ว ค่าอาหารเป็น 728 บาท/วัน ในวันที่อายุ 60

ต้องใช้เงิน 20 ปี = 5,314,400 บาท (728 *365* 20)

2. ค่าใช้จ่ายเรื่องสาธารณูปโภค และบำรุงรักษาทรัพย์สิน รวมถึงค่าซ่อม บ้าน ซ่อมรถ ค่าโทรศัพท์ ค่าอินเทอร์เน็ต ค่าสันทนาการ ค่าน้ำมัน ค่า เดินทางต่างๆ เดือนละ 15,000 บาท ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ คิดอัตราเงินเฟ้อ เป็น 36,409 บาท ต้องใช้เงิน 20 ปี = 8,738,160 บาท (36,409 *12* 20)

 

3.    ค่ารักษาพยาบาล เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมากๆค่ะ เรียกได้ว่า บางคน เก็บเงินมาทั้งชีวิต แต่หมดไปกับค่ารักษาถึงขั้นติดลบกันเลยก็มี ซึ่งโรค ภัยต่างๆพร้อมใจกันมาเยือน และสามัคคีกันทำหน้าที่ในวัยเกษียณ คงจะหนีไม่พ้น ความดัน เบาหวาน หัวใจ ฯลฯ และที่สำคัญค่าใช้จ่าย ส่วนนี้ค่อนข้างสูงมาก-มากที่สุด แต่ถ้าเรารู้จัก”บริหารค่าใช้จ่าย” โดยการโอนความเสี่ยงเรื่องค่ารักษาให้บริษัทประกันรับความเสี่ยง เรื่องนี้แทน ด้วยการทำประกันสุขภาพถึงอายุ 79 ปี ค่าเบี้ยประมาณปีละ 50,000 บาท (50,000*19 = 950,000 บาท) ก็จะสามารถประหยัดค่าใช้ จ่ายได้ไม่น้อยเลยทีเดียว

และควรเตรียมเงินสำรองอย่างน้อย 500,000-1,000,000 บาท เนื่องจากโรงพยาบาลมีการปรับค่าใช้จ่ายสูงขึ้นเป็นระยะๆ จึงส่งผล ให้ค่ารักษาที่เคยซื้อไว้ไม่เพียงพอกับปัจจุบัน รวมทั้งค่าใช้จ่ายส่วนต่าง ที่อาจเกินจากงบที่เราซื้อประกันสุขภาพไว้เช่นกัน

รวมเงินที่ต้องเตรียม (50,000 *19)+1,000,000 = 1,950,000 บาท

4.    เงินสำหรับทำบุญ     ไม่ว่าจะศาสนาใดก็ตามมักจะให้ความสำคัญกับการ สะสมเสบียงบุญ เพราะฉะนั้น ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ถือเป็นส่วนที่ทำให้ผู้สูง อายุมีความสุขทางใจ เดือนละ 2,000 บาท เป็นเวลา 20 ปี

(2,000 *12* 20) = 480,000 บาท

รวมเป็นเงินที่ต้องเตรียมไว้ใช้ยามเกษียณ  อย่างมีความสุขตลอด  20 ปี

5,314,400 + 8,738,160 + 1,950,000 + 480,000 16,482,560 บาท

ทั้งหมดนี้ คือสมมติฐานยามเกษียณ ซึ่งในความเป็นจริงค่าใช้ จ่ายจะแตกต่างกันตาม Lifestyle ของแต่ละคน ทุกท่านเห็นแล้วใช่ไหมคะว่า เงินที่ต้องใช้ในวัยเกษียณนั้น เป็นตัวเลขที่น่าตกใจ พอๆกับกับคำกล่าวที่ว่า

“  น่าเสียดายตายแล้วใช้เงินไม่หมด แต่น่าสลด ที่เงินหมดแล้วยังไม่ตาย  ”

คงเป็นเรื่องน่าสลดแน่ ถ้าวันนี้เรายังไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างจริงจัง จากสถิติประชากรโลกพบว่าคนอายุยืนขึ้น     ดังนั้นชีวิตหลังเกษียณ

ต้องใช้เงินมากขึ้น บวกกับภาวะเงินเฟ้อที่เป็นเงาตามตัว เราคงต้องกลับมา คิดกันแล้วนะคะว่า วันนี้สิ่งที่สำคัญไม่แพ้เรื่องอื่นๆในชีวิต คือ “แผนเกษียณ อายุที่มีประสิทธิภาพ”  เห็นด้วยกับผู้เขียนไหมคะทุกคน ??

Mint DD